วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างของยาไทย

หลักการปรุงยา

การปรุงยา มุ่ง หมายเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาหรือป้องกันโรค ครอบคลุมถึงสมุฏฐานของโรค แก้ไข้และป้องกันโรคแทรกโรคตามไว้พร้อมกัน

ตามหลักการแพทย์แผนโบราณ ยา คือ สิ่งซึ่งประกอบขึ้นจากตัวยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อใช้ในการบำบัดรักษา ตรวจหรือป้องกันโรค ส่วนตัวยาเพียงอย่างเดียวท่านไม่เรียกว่าเป็นยา คงเป็นเพียง ตัวยา หรือ เครื่องยา เท่านั้น

ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ยา คือ วัตถุธาตุนานาชนิดที่นำมาใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บไข้ของมนุษย์หรือสัตว์

เภสัชกร สามารถปรุงยาได้เฉพาะตามใบสั่งแพทย์ หรือปรุงยาตามตำรับยาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

ส่วนการตั้งยาเพื่อใช้ สำหรับรักษาโรคหรือแก้ไข้ เป็นหน้าที่ของแพทย์

ยาของไทย เป็นยาที่ประกอบขึ้นจากเครื่องยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ซึ่งนิยมจัดร่วมเป็นตำรับ มีองค์ประกอบดังนี้


โครงสร้างของยาไทย

1.ตัวยาตรง เป็นตัวยาที่จะใช้รักษาอาการหลัก โรคนั้น ๆ แต่การป่วยไข้แต่ละครั้ง ไม่ได้เกิดมีเฉพาะอาการเดียวหรือโรคเดียวบางทีอาจจะมีโรคเดียวก็จริง แต่เป็นธรรมดาเมื่อป่วยไข้ร่างกายอ่อนแอ อาจเกิดอาการหรือโรคอื่นแทรกตามมาได้ หลักการแพทย์ของไทย จึงได้จัดให้มีตัวยาเข้ามาช่วยแก้ไขในส่วนนี้ด้วย เรียกว่า

2.ตัว ยาช่วย เป็นตัวยาที่มุ่งหมายเพื่อใช้รักษาโรคแทรกโรคตาม หรือในกรณีที่มีอาการของโรคหลายโรคด้วยกัน ก็จัดไว้รักษาอาการรองลงมา ยาช่วยจะต้องมีสรรพคุณไม่ขัดกันกับตัวยาตรง หรือทำลายฤทธิ์ยาตรง

3.ตัว ยาคุม หรือ ยาประกอบ เป็นตัวยาที่คุมกำลังหรือคุมฤทธิ์ของยาตัวอื่นให้ เป็นไปด้วยดี หรือ ป้องกันโรคตาม หรือเสริมในส่วนที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม ให้ยามีสรรพคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสรรพคุณยาต้องไม่ขัดกันกับตัวยาตรงและยาช่วย

4.ตัวยาชูรส ชูกลิ่น และแต่งสี คือ ตัวยาที่นำมาปรุงแต่งเพื่อให้ยาขนานนั้น ๆ น่ารับประทาน เพื่อให้ง่ายแก่การใช้ยาและสรรพคุณต้องไม่ขัดกับยาตัวอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น