วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กลุ่มพืช หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ5

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

พิกุล


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.

ชื่อ สามัญ : Bullet wood

วงศ์ : SAPOTACEAE

ชื่อ อื่น : พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ

สรรพคุณ :

  • ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
  • ดอกแห้ง - เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ
  • ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก
  • เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
  • เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
  • ใบ - ฆ่าพยาธิ
  • แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
  • กระพี้ - แก้เกลื้อน

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

มะลิลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Aiton

ชื่อ สามัญ : Arabian jasmine

วงศ์ : OLEACEAE

ชื่อ อื่น : มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่

สรรพคุณ :

  • ใบ, ราก - ทำยาหยอดตา
  • ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
  • ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
  • ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม

วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
สารเคมี :

  • ดอก พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
  • ใบ พบ jasminin sambacin

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารภี


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อพ้อง
: Ochrocarpus siamensis T.Anders

วงศ์ : GUTTIFERAE

ชื่อ อื่น : สร้อยภี (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไข่ปลายมนกว้าง บางทีปลายใบเว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็นรูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ : ดอก ผลสุก

สรรพคุณ :

  • ดอกสดและแห้ง - ใช้เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ
  • ดอกตูม - ย้อมผ้าไหม ให้สีแดง
  • ผลสุก - รับ ประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น