วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

ประกาศกระทรวง สาธารณสุข
เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขในปัจจุบัน
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 76(5) (7) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2537

ข้อ 2. ให้ยาแผนโบราณตามตำรับต่อไปนี้เป็นยาสามัญประจำบ้าน

1. ยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
1.1 ยาประสะกะเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะกานพลู ยาแสงหมึก ยามันทธาตุ
ยาประสะเจตพังคี ยามหาจักรใหญ่ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
1.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ขิง ข่า ตะไคร้ กานพลู สะระแหน่ โหระพา กะเพรา ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย กระเทียม หอมแดง กะทือ ไพล เม็ดพริกไทย เจตพังคี ลูกกระวาน จันทน์เทศ อบเชย ดีปลี มหาหิงคุ์ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกเร่ว ลูกผักชีลา เปราะหอม ช้าพลู สะค้าน เกล็ดสะระแหน่ การบูร ผิวและใบมะกรูด ผิวและใบมะนาว สมัดน้อย สมัดใหญ่ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

2. ยาถ่าย ยาระบาย
2.1 ยาตรีหอม ยาธรณีสันฑะฆาต ยาถ่าย ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
2.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ยาดำ โกฐน้ำเต้า มะขามแขก ฝักคูณ ขี้เหล็ก สมอไทย น้ำมันละหุ่ง ดีเกลือ ชะเอมไทย อ้อยสามสวน ชุมเห็ดเทศ เกลือสินเธาว์ เกลือเทศ สลัดได รากตองแตก มะขามป้อม มะขามเปียก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

3. ยาแก้ท้องเสีย
3.1 ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
3.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ใบฝรั่ง เปลือกมังคุด เปลือกทับทิม เปลือกขี้อ้าย รากกระท้อน รากมะพร้าว รากตาล รากลาน เปลือกต้นไข่เน่า เปลือกต้นมะขาม เปลือกฝักเพกา หมาก ขนุนดิบ ใบชา ครั่ง สีเสียด เปลือกซิก เปลือกแค เปลือกมะเดื่อชุมพร ขมิ้นชัน ลูกเบญกานี โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

4. ยาแก้ไข้
4.1 ยาจันทน์ลีลา ยาประสะจันทน์แดง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
4.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ สะเดา หญ้านาง หญ้าแพรก บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจร รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร รากชิงชี่ รากท้าวยายม่อม จันทน์เทศ จันทน์แดง ใบพิมเสน โกฐก้านพร้าว โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา รากปลาไหลเผือก ลูกกระดอม หญ้าตีนนก พญามือเหล็ก ต้นเหมือดคน รากไคร้เครือ กรุงเขมา เมล็ดในฝักเพกา ขี้กาทั้งสอง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

5. ยาแก้ร้อนใน
5.1 ยาเขียวหอม ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
5.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ผักกาดน้ำ เมล็ดมะกอก หญ้าใต้ใบ ใบพิมเสน จันทน์แดง จันทน์เทศ ฟ้าทะลายโจร แฝกหอม ผักกระโฉม ใบสันพร้าหอม ผลมะระขี้นก ลูกมะคำดีควายเผา ดอกงิ้ว ใบตำลึง บอระเพ็ด โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

6. ยาบรรเทาหัด อีสุกอีใส
6.1 ยามหานิลแท่งทอง ยาเขียวหอม ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
6.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ จันทน์เทศ จันทน์แดง ใบพิมเสน ใบหญ้านาง ใบมะระ รากมะเดื่อชุมพร รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากคนทา รากท้าวยายม่อม ผักกระโฉม ใบสันพร้าหอม ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง มหาสดำ ไคร้เครือ เนระพูสี ลูกมะคำดีควาย รากมะนาว รากมะกรูด รากมะปราง รากมะเฟือง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

7. ยาแก้ลมวิงเวียน
7.1 ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร ยาหอมนวโกฐ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
7.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เกสรทั้งห้า กฤษณา สมุลแว้ง โกฐพุงปลา โกฐกระดูก เปราะหอม แฝกหอม อบเชย ชะมด เทียนทั้งห้า
พิมเสน เกล็ดสะระแหน่ โกฐหัวบัว โกฐเชียง กระลำพัก ขอนดอก หญ้าฝรั่น จันทน์หอม จันทน์เทศ เปลือกชะลูด กานพลู จันทน์ชะมด ผิว ดอก ใบส้ม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

8. ยาแก้ไอ
8.1 ยาอำมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
8.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ มะแว้ง ชะเอมเทศ สมอเทศ มะขามป้อม ส้มป่อย ใบสวาด มะนาว มะเขือขื่น กฤษณา รากส้มกุ้ง มะขามเปียก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

9. ยาบำรุงร่างกาย
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือ หลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ระย่อม โกฐเชียง โกฐหัวบัว โสม เห็ดหลินจือ แห้วหมู กระชาย กำลังวัวเถลิง กำลังหนุมาน กำลังช้างสาร เม็ดข่อย เปลือกตะโกนา เปลือกทิ้งถ่อน หัวกวาวเครือ กำลังเสือโคร่ง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

10. ยาบำรุงโลหิต
10.1 ยาบำรุงโลหิต ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
10.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ฝาง ดอกคำฝอย ผักเป็ดแดง โกฐเชียง ดอกคำไทย ดอกกรรณิการ์ สนิมเหล็ก โกฐทั้งห้า แกแล แก่นขี้เหล็ก ว่านสากเหล็ก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

11. ยาแก้ประจำเดือนไม่ปกติ
11.1 ยาประสะไพล ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
11.2 ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ แก่นแสมสาร แก่นแสมทะเล ลูกคัดเค้า หางไหลแดง มะไฟเดือนห้า เอื้องเพชรม้า สารส้ม ฝาง แกแล คำฝอย คำไทย เทียนดำ ไพล ผิวมะกรูด ใบส้มเสี้ยว ใบส้มป่อย รากมะดัน เถาคันทั้งสอง ผักเป็ดแดง ผักเสี้ยนผี ขมิ้นเครือ ว่านชักมดลูก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

12. ยาขับน้ำคาวปลา
12.1 ยาไฟประลัยกัลป์ ยาไฟห้ากอง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
12.2 ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง ดีปลี พริกไทย ผิวมะกรูด แก่นแสมทะเล ฝาง สารส้ม หัสคุณเทศ หางไหลแดง ว่านชักมดลูก เปลือกมะรุม กระเทียม ข่า ไพล ตะไคร้ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

13. ยากษัยเส้น หรือยาแก้ปวดเมื่อย
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใด หรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน มะคำไก่ รากแจง รางแดง เถาโคคลาน กำแพงเจ็ดชั้น หัวดองดึง หัวกระดาดทั้งสอง หัวอุตพิษ หัวบุก หัวกลอย กำลังหนุมาน กำลังเสือโคร่ง เถาเมื่อย แส้ม้าทะลาย โรกแดง โรกขาว โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

14. ยาขับปัสสาวะ
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใด หรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ หญ้าคา หญ้าชันกาด ขลู่ อ้อยแดง โคกกระสุน หญ้าหนวดแมว รากลำเจียก เหง้าสับปะรด รากมะละกอ รากไม้รวก บานไม่รู้โรย ใบอินทนิลน้ำ รากไทรย้อย โคกกระสุน กระเจี๊ยบ สารส้ม ต้นหงอนไก่ ผักกาดน้ำ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

15. ยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่ง ตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ โกฐกักกรา อัคคีทวาร เพชรสังฆาต ผักแพวแดง แพงพวย เปลือกข่อย ขลู่ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

16. ยาถ่าย พยาธิ
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใด หรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ลูกมะเกลือสด รากทับทิม เมล็ดสะแก และสะแกทั้งห้า รากเล็บมือนาง เปลือกมะหาด ชุมเห็ดเทศ เปลือกต้นไข่เน่า ต้นถอบแถบ ปวกหาด ลูกเล็บมือนาง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

17. ยาแก้ทรางตานขโมย
17.1ยาประสะเปราะใหญ่ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้
17.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ตานทั้งห้า ลูกสะแก เล็บมือนาง ถอบแถบ บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย เปลือกต้นไข่เน่า แก่นมะเกลือ งวงตาล ชุมเห็ดเทศ เถาลิ้นเสือ จุกหอม จุกกระเทียม รากทับทิม มะหาด โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

18. ยาบรรเทาอาการผื่นคันตามผิวหนัง
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อ ไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญคือ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ข่า ดอกชุมเห็ดเทศ ใบเล็บมือนาง ข้าวเย็นทั้งสอง ขันทองพยาบาท กำมะถันเหลือง น้ำสารส้ม ลิ้นทะเล ดินสอพอง กระเทียม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

19. ยาแก้กลากเกลื้อน
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่ง ตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ขันทองพยาบาท ใบเหงือกปลาหมอ ใบทองพันชั่ง กะเม็ง ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก กำมะถันเหลือง เม็ดในสะบ้าใหญ่ กระเทียม สารส้ม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และ ขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

20.ยาแก้หิด
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือ หลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เมล็ดในน้อยหน่า กำมะถัน ลูกกระเบา ลูกกระเบียน ลูกสะบ้ามอญ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

21.ยา บรรเทาฝี แผล
ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัว เป็นตัวยาสำคัญ คือ ว่านหางจระเข้ ขมิ้นอ้อย ต้อยติ่ง หมากดิบ สีเสียด เสน ยางสน ใบมะกา กำมะถันเหลือง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

22.ยาทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัว หนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ว่านหางจระเข้ ว่านหางช้าง ดินสอพอง ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน พิมเสน การบูร เกล็ดสะระแหน่ ลิ้นทะเล โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

23. ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย และแมลงกัดต่อย
ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไป นี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เกล็ดสะระแหน่ พิมเสน การบูร น้ำมันยูคาลิปตัส เสลดพังพอน น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันเขียว น้ำมันระกำ ตะไคร้หอม ว่านเพชรหึง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

24. ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ
ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัว หนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม ชะเอมเทศ สมอเทศ ลูกเบญกานี ผักคราด หญ้าดอกขาว น้ำประสานทองสะตุ พิมเสน โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

25. ยาแก้ลิ้นเป็นฝ้า
ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ลูกเบญกานี ชาดก้อน พิมเสน หมึกหอม ลิ้นทะเล ใบสวาด ใบฝรั่ง สีเสียด หมาก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

ข้อ 3. ให้ยาแผนโบราณซึ่งมีชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือนและขนาดบรรจุ ต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้าน

(1) ยาประสะกะเพรา

วัตถุส่วนประกอบ

พริกไทย ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ 2 ส่วน ชะเอมเทศ มหาหิงคุ์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน
เกลือสินเธาว์ หนัก 1 ส่วน ผิวมะกรูด หนัก 20 ส่วน
ใบกะเพราะ หนัก 47 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.1 กรัม
สรรพคุณ
แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายน้ำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้ม
แก้ท้องแน่นจุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนแทรก
ขนาดรับประทาน


รับประทานเช้า เย็น
เด็กอายุ 1-3 เดือน ครั้งละ 1-2 เม็ด
เด็กอายุ 4-6 เดือน ครั้งละ 2-3 เม็ด
เด็กอายุ 7-12 เดือน ครั้งละ 4-6 เม็ด
ขนาดบรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(2) ยาวิสัมพยาใหญ่

วัตถุส่วน ประกอบ


ลูกผักชีลา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน กระวาน กานพลู โกศสอ
โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา อบเชย สมุลแว้ง สมอเทศ สมอไทย
รากไคร้เครือ ว่านน้ำ บอระเพ็ด ขิงแห้ง พญารากขาว หนักสิ่งละ 2 ส่วน
ดีปลี หนัก 56 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด
ขนาดรับประทาน
รับประทานทุก 4 ชั่วโมง
ครั้งละ 1 ช้อนชา ใช้น้ำสุกเป็นกระสาย หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(3) ยาประสะกานพลู

วัตถุส่วน ประกอบ







เทียนดำ เทียนขาว โกฐสอ โกฐกระดูก กำมะถันเหลือง การบูร รากไคร้เครือ
เปลือกเพกา เปลือกขี้อ้าย ใบกระวาน ลูกกระวาน ลูกผักชีลา แฝกหอม ว่านน้ำ
หัวกระชาย เปราะหอม รากแจง กรุงเขมา หนักสิ่งละ 4 ส่วน
รากข้าวสาร เนื้อไม้ ลูกจันทน์ ขมิ้นชัน หนักสิ่งละ 8 ส่วน
ขิงแห้ง ดีปลี หนักสิ่งละ 3 ส่วน
ไพล เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ 2 ส่วน
เปลือกซิก หนัก 10 ส่วน
พริกไทย หนัก 1 ส่วน
กานพลู หนัก 131 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ
แก้ปวดท้อง เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ใช้ไพลเผาไฟฝนกับน้ำปูนใส
ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน
รับประทานทุก 3 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(4) ยาแสงหมึก

วัตถุส่วนประกอบ

หมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์
กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ใบกะเพรา หนักสิ่งละ 4 ส่วน
พิมเสน หนัก 1 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ


แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกะเพราต้ม
แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ หรือลูกมะแว้งต้นกวาดคอ
แก้ปากเป็นแผล แก้ละออง ละลายน้ำลูกเบญกานีฝนทาปาก
ขนาดรับประทาน

ใช้กวาดคอวันละ 1 ครั้ง หลังจากนั้นรับประทานทุก 3 ชั่วโมง
เด็กอายุ 1-6 เดือน ครั้งละ 2 เม็ด
เด็กอายุ 7-12 เดือน ครั้งละ 3 เม็ด
ขนาดบรรจุ บรรจุ 12 เม็ด

(5) ยามันทธาตุ

วัตถุ ส่วนประกอบ




โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน
รากไคร้เครือ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา การบูร กระเทียม เปลือกสมุลแว้ง
เปลือกโมกมัน จันทน์แดง จันทน์เทศ กานพลู ดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน
รากเจตมูลเพลิงแดง พริกไทยล่อน ลูกจันทน์ หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ขิง ลูกเบญกานี หนักสิ่งละ 3 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ธาตุ ไม่ปกติ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ
ขนาดรับประทาน

รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก
เด็ก ครั้งละ ½ ช้อนชา ละลายน้ำสุก
ขนาด บรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(6) ยาประสะเจตพังคี

วัตถุส่วนประกอบ




ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกกระวาน ใบกระวาน กานพลู กรุงเขมา รากไคร้เครือ
การบูร ลูกสมอทะเล พญารากขาว เปลือกหว้า เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 1 ส่วน
พริกไทยล่อน บอระเพ็ด หนักสิ่งละ 2 ส่วน
ข่า หนัก 16 ส่วน
ระย่อม หนัก 2 ส่วน
เจตพังคี หนัก 34 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้กษัย จุกเสียด
ขนาดรับประทาน
รับประทานเช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(7) ยามหาจักรใหญ่

วัตถุส่วน ประกอบ





โกฐสอ โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี
สมอไทย (เอาแต่เนื้อ) สมอพิเภก(เอาแต่เนื้อ) มะขามป้อม (เอาแต่เนื้อ)
ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลูชะเอมเทศ เมล็ดโหระพา ลูกผักชีลา
สารส้ม ขมิ้นอ้อย หัวกระเทียม หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ยาดำสะตุ หนัก 4 ส่วน
ใบกระพังโหม หนัก 30 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.5 กรัม
สรรพคุณ แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดรับ ประทาน
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ รับประทานครั้งละ 1-3 เม็ด
เพิ่มและลดได้ตามส่วน รับประทานกับน้ำสุกก่อนอาหาร เช้า - เย็น
ขนาดบรรจุ บรรจุ 10 เม็ด

(8) ยาตรีหอม

วัตถุ ส่วนประกอบ

เนื้อลูกสมอเทศ เนื้อลูกสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม ลูกผักชีลา หนักสิ่งละ 4 ส่วน
รากไคร้เครือ โกฐสอ ชะเอมเทศ ลูกซัดคั่ว หนักสิ่งละ 1 ส่วน
เนื้อลูกสมอไทย โกฐน้ำเต้าใหญ่นึ่งสุก หนักสิ่งละ 22 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้เด็ก ท้องผูก ระบายพิษไข้
ขนาดรับประทาน


รับประทานก่อน อาหารเช้า
เด็กอายุ 1-2 เดือน ครั้งละ 2-3 เม็ด
เด็กอายุ 3-5 เดือน ครั้งละ 4-5 เม็ด
เด็กอายุ 6-12 เดือน ครั้งละ 6-8 เม็ด
ขนาด บรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(9) ยาธรณีสันฑะฆาต

วัตถุ ส่วนประกอบ

ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนขาว หัวดองดึง
หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง ลูกเร่ว ขิง ชะเอมเทศ
รากเจตมูลเพลิงแดง โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ 2 ส่วน
เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ การบูร หนักสิ่งละ 6 ส่วน
รงทอง (ประสะแล้ว) หนัก 4 ส่วน
ยาดำ หนัก 20 ส่วน
พริกไทยล่อน หนัก 96 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้กษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก
ขนาดรับประทาน

รับประทาน วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน
ครั้งละ ½-1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
คำเตือน คนเป็นไข้ หรือ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(10) ยาถ่าย

วัตถุส่วนประกอบ




ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไทร ใบไผ่ป่า ฝักคูณ รากขี้กาแดง
รากขี้กาขาว รากตองแตก เถาวัลย์เปรียง หัวหอม ฝักส้มป่อย สมอไทย
สมอดีงู หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ขี้เหล็กทั้ง 5 หนัก 1 ส่วน
ยาดำ หนัก 4 ส่วน
ดีเกลือฝรั่ง หนัก 20 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.5 กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องผูก
ขนาดรับประทาน
รับประทาน วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ครั้งละ 2-5 เม็ด ตามธาตุหนักธาตุเบา
ขนาด บรรจุ บรรจุ 10 เม็ด

(11) ยาเหลืองปิดสมุทร

วัตถุส่วนประกอบ

แห้วหมู ขมิ้นอ้อย เปลือกเพกา รากกล้วยตีบ กระเทียมคั่ว ดีปลี ชันย้อย ครั่ง
สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ขมิ้นชัน หนัก 6 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.1 กรัม
สรรพคุณ

แก้ท้องเสีย ใช้น้ำเปลือกลูกทับทิมหรือเปลือกแคต้มกับน้ำปูนใส
เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน และให้รับประทาน
ร่วมกับน้ำละลายเกลือแกงด้วย
ขนาดรับประทาน
รับประทานวันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 10 เม็ด
ขนาดบรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(12) ยาธาตุบรรจบ

วัตถุส่วนประกอบ



ขิง โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐเชียง โกฐสอ เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์
เทียนเยาวพาณี เทียนแดง ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู การบูร เปลือกสมุลแว้ง
ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสน รากไคร้เครือ ดีปลี เปราะหอม หนักสิ่งละ 4 ส่วน
โกฐก้านพร้าว หนัก 8 ส่วน
เนื้อลูกสมอไทย หนัก 16 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ

แก้ธาตุไม่ปกติ ท้องเสีย ใช้เปลือกแคหรือเปลือกสะเดาหรือเปลือกลูกทับทิมต้มกับน้ำปูนใส
แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใช้กระเทียม 3 กลีบ ทุบชงน้ำร้อน หรือใช้ใบกะเพราต้มเป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับ ประทาน

รับประทาน วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา
เด็ก ครั้งละ ½ ช้อนชา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(13) ยาจันทน์ลีลา

วัตถุส่วน ประกอบ

โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทน์เทศ จันทน์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด
รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ 4 ส่วน
พิมเสน หนัก 1 ส่วน
วิธีทำ
ชนิดผง บดเป็นผง
ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.5 กรัม
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
ขนาดรับประทาน



รับประทาน ทุก 4 ชั่วโมง
ชนิดผง เด็ก ครั้งละ ½-1 ช้อนชา
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 ช้อนชา
ชนิดเม็ด เด็ก ครั้งละ 1-2 เม็ด
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3-4 เม็ด
ขนาดบรรจุ
ชนิดผง 15 กรัม
ชนิดเม็ด 30 เม็ด

(14) ยาประสะจันทน์แดง

วัตถุส่วนประกอบ


รากเหมือดคน รากมะปรางหวาน รากมะนาว เปราะหอม โกฐหัวบัว จันทน์เทศ
ฝางเสน หนักสิ่งละ 4 ส่วน
เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ หนักสิ่งละ 1 ส่วน
จันทน์แดง หนัก 32 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ
ขนาดรับ ประทาน

รับประทานทุก 3 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา
เด็ก ครั้งละ ½ ช้อนชา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(15) ยาเขียวหอม

วัตถุส่วนประกอบ

ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม
จันทน์เทศ จันทน์แดง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ มหาสดำ
รากไคร้เครือ ดอกพิกุล เกสรบุนนาค เกสรสารภี เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ
แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ
แก้พิษหัด พิษสุกใส ละลายน้ำรากผักชีต้ม ทั้งรับประทานและชโลม
ขนาดรับ ประทาน

รับประทานวันละ 4-6 ครั้ง
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา
เด็ก ครั้งละ 1/2 ช้อนชา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 30 กรัม

(16) ยามหานิลแท่งทอง

วัตถุส่วนประกอบ


เนื้อในเม็ดสะบ้ามอญสุม หวายตะค้าสุม เม็ดมะกอกสุม ลูกมะคำดีควายสุม
ถ่านไม้สัก จันทน์แดง จันทร์เทศ ใบพิมเสนใบหญ้านาง หมึกหอม
หนักสิ่งละ 1 ส่วน
เบี้ยจั่นคั่วให้เหลือง 3 เบี้ย
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด ปิดทองคำเปลว หนักเม็ดละ 0.5 กรัม
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ แก้หัด อีสุก อีใส
ขนาดรับ ประทาน

รับประทาน วันละ 2 ครั้ง
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3-4 เม็ด
เด็ก ครั้งละ 1-2 เม็ด
ขนาดบรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(17) ยาหอมเทพจิตร

วัตถุส่วน ประกอบ











ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู จันทน์แดง จันทน์ขาว กฤษณา
กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชย เปราะหอม แฝกหอม หนักสิ่งละ 2 ส่วน
ผิวมะกรูด ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว ผิวส้มตะรังกะนู ผิวส้มจีน ผิวส้มโอ
ผิวส้มเขียวหวาน หนักสิ่งละ 4 ส่วน ผิวส้มซ่าหนัก 28 ส่วน
ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบัวขม
ดอกบัวเผื่อน หนักสิ่งละ 4 ส่วน
การบูร หนัก 1 ส่วน
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกศก้านพร้าวโกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ 4 ส่วน
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณีเทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ หนักสิ่งละ 4 ส่วน
พิมเสนหนัก 4 ส่วน
ดอกมะลิ หนัก 184 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำดอกไม้เทศ ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้ลม บำรุงหัวใจ
ขนาดรับประทาน รับประทาน ครั้งละ 5-7 เม็ด
ขนาด บรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(18) ยาหอมทิพโอสถ

วัตถุ ส่วนประกอบ







ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกกระดังงา
ดอกจำปา ดอกบัวจงกลนี หัวแห้วไทย กระจับ ฝาง จันทน์แดง จันทน์ขาว
จันทร์เทศ กฤษณา ชะลูด อบเชย สมุลแว้ง สนเทศ ว่านน้ำ กระชาย เปราะหอม
ดอกคำไทย ชะเอมเทศ สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หนักสิ่งละ 4 ส่วน
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกศก้านพร้าวโกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ 2 ส่วน
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณีเทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ การบูร หนักสิ่งละ 1 ส่วน
พิมเสน หนัก 2 ส่วน
วิธีทำ
ชนิดผง บดเป็นผง
ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้ลม วิงเวียน ละลายน้ำดอกไม้หรือน้ำสุก
ขนาดรับประทาน
ชนิดผง ครั้งละ ½-1 ช้อนชา
ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-7 เม็ด
ขนาดบรรจุ
บรรจุ ชนิดผง 15 กรัม
ชนิดเม็ด 30 เม็ด

(19) ยาหอมอินทจักร

วัตถุ ส่วนประกอบ






สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี รากเจตมูลเพลิงแดง ลูกผักชีลา โกศสอ โกศเขมา
โกฐก้านพร้าว โกศพุงปลา โกศจุฬาลัมพา โกฐเชียง โกศกักกรา โกฐน้ำเต้าโกฐกระดูกเทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี
จันทน์แดง จันทน์เทศ เถามวกแดง เถามวกขาว รากหญ้านาง เปลือกชะลูด
อบเชย เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลำพัก บอระเพ็ด ลูกกระดอม กำยาน
ขอนดอก ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู รากไคร้เครือ ลำพันแดง
ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกคำไทย
ฝางเสน ดีวัว พิมเสน สิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ
ชนิดผง บดเป็นผง
ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ

แก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ
แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก
แก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม
ขนาดรับประทาน

รับประทานทุก 3 ชั่วโมง
ชนิดผง ครั้งละ ½-1 ช้อนชา
ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-10 เม็ด
ขนาดบรรจุ
บรรจุ ชนิดผง 15 กรัม
ชนิดเม็ด 30 เม็ด

(20) ยาอำมฤควาที

วัตถุ ส่วนประกอบ

รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอ
พิเภก หนักสิ่งละ 7 ส่วน
ชะเอมเทศ หนัก 43 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้จิบหรือกวาดคอ
ขนาดรับประทาน
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา
เด็ก ลดลงตามส่วน
ขนาด บรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(21) ยาหอมนวโกฐ

วัตถุ ส่วนประกอบ






ขิง แห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ 3 ส่วน
แห้วหมู โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก
โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว
เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ สักขี ลูกราชดัด ลูกสารพัดพิษ ลูกกระวาน กานพลู
ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ จันทน์เทศ จันทน์แดง อบเชยญวน เปลือกสมุลแว้ง
หญ้าตีนนก แฝกหอม เปลือกชะลูด เปราะหอม รากไคร้เครือ เนื้อไม้ ขอนดอก
กระลำพัก เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก ชะเอมเทศ ลูกผักชีลา
ลูกกระดอม บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง เกสรบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกมะลิ
แก่นสน หนักสิ่งละ 4 ส่วน
พิมเสน หนัก 1 ส่วน
วิธีทำ
ชนิดผง บดเป็นผง
ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ

แก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม
แก้ลมปลายไข้ ใช้ก้านสะเดา ลูกกระดอม และบอระเพ็ด ต้มเอาน้ำถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน

รับประทานทุก 3 ชั่วโมง
ชนิดผง ครั้งละ ½-1 ช้อนชา
ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-10 เม็ด
ขนาดบรรจุ บรรจุ ชนิดผง 15 กรัม
ชนิดเม็ด 30 เม็ด

(22) ยาประสะมะแว้ง

วัตถุ ส่วนประกอบ


สารส้ม หนัก 1 ส่วน
ขมิ้นอ้อย หนัก 3 ส่วน
ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพรา หนักสิ่งละ 4 ส่วน
ลูกมะแว้งต้น ลูกมะแว้งเครือ หนักสิ่งละ 8 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำสุกแทรกพิมเสนพอควร ทำเป็นเม็ดหนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือรับประทานหรือใช้อม
ขนาดรับประทาน
เด็ก ครั้งละ 1-2 เม็ด
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 5-7 เม็ด
ขนาด บรรจุ บรรจุ 30 เม็ด

(23) ยาบำรุงโลหิต

วัตถุ ส่วนประกอบ








ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู ขมิ้นเครือ เถามวกแดง กำลังวัวเถลิง
ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 2 ส่วน
ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน
โกฐสอ โกศเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา
เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอดีงู เนื้อลูกสมอพิเภก
เปลือกชะลูด เปลือกอบเชยเทศ จันทน์แดง
แก่นแสมสาร แก่นแสมทะเล กฤษณา หนักสิ่งละ 1 ส่วน
ครั่ง หนัก 8 ส่วน
ฝาง ดอกคำไทย หนักสิ่งละ 10 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ บำรุงโลหิต
ขนาดรับประทาน
รับประทาน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก
ขนาด บรรจุ บรรจุ 30 กรัม

(24) ยาประสะไพล

วัตถุ ส่วนประกอบ


ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ
เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน
การบูร หนัก 1 ส่วน
ไพล หนัก 81 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา
ขนาดรับประทาน
รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 30 กรัม

(25) ยาไฟประลัยกัลป์

วัตถุ ส่วนประกอบ

พริกไทยล่อน ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ 4 ส่วน
ขมิ้นอ้อย กะทือ ข่า ไพล เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ 5 ส่วน
รากเจตมูลเพลิงแดง สารส้ม แก่นแสมทะเล การบูร ผิวมะกรูด หนักสิ่งละ 6 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ ขับน้ำคาว ปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
ขนาดรับประทาน
รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือ น้ำสุรา
ขนาด บรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(26) ยาไฟห้ากอง

วัตถุ ส่วนประกอบ รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทยล่อน สารส้ม ฝักส้มป่อย หนักสิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ ขับน้ำคาว ปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
ขนาดรับประทาน
รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือ น้ำสุรา
ขนาด บรรจุ บรรจุ 15 กรัม

(27) ยาประสะเปราะใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ



โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน
ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู จันทน์เทศ จันทน์แดง
ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกพิกุล เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 1 ส่วน
เปราะหอม หนัก 20 ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง
สรรพคุณ
ถอนพิษไข้ตานทรางสำหรับเด็ก ละลายน้ำดอกไม้เทศหรือ
น้ำสุกรับประทาน หรือผสมน้ำสุราสุมกระหม่อม
ขนาดรับประทาน
รับประทานทุก 3 ชั่วโมง
ครั้งละ ½ - 1 ช้อนชา
ขนาดบรรจุ บรรจุ 15 กรัม



ข้อ 4. ฉลากยาสามัญประจำบ้านตามประกาศนี้ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้



4.1 ชื่อยาตามที่ระบุในประกาศ ในกรณีเป็นตำรับยาที่มีการกำหนดชื่อยาไว้ในประกาศฉบับนี้

กรณีมีการ ใช้ชื่อทางการค้าด้วย ให้แสดงชื่อยาควบคู่กับชื่อทางการค้าด้วย

4.2 คำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน ” ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ชัดเจน

4.3 คำว่า “ยาสิ้นอายุ ” และแสดง วัน เดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ

ให้ยาสามัญประจำ บ้านตามประกาศฉบับนี้มีอายุการใช้ของยาได้ไม่เกิน 2 ปี สำหรับ ยาน้ำ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับยารูปแบบอื่น เว้นแต่ยาใดที่มีหลักฐานชัดเจนแสดงว่ามีอายุการใช้มากกว่า ที่กำหนด ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจขยายอายุการใช้ของยาชนิดนั้นได้ เป็นเฉพาะราย

4.4 ข้อความอื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 57(2) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 แล้วแต่กรณี


ข้อ 5. ยาสามัญประจำบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้ บังคับ ให้ถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ


ข้อ 6.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่จะผลิตตำรับยาสามัญประจำบ้านตามประกาศ ฉบับนี้ ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยต้องมีสูตร ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อความคำเตือน ตามประกาศฉบับนี้ หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการยา เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว จึงผลิตยานั้นได้


ข้อ 7. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่มีตำรับยาตามประกาศฉบับนี้และได้ขึ้น ทะเบียน

ตำรับยาไว้ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ที่ประสงค์จะให้ตำรับยานั้นเป็นยาสามัญประจำบ้านโดย ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ ขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยา ภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ


ข้อ 8. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542

(ลงชื่อ) กร ทัพรังสี



(นาย กร ทัพรังสี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น