วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กลุ่มพืช หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ3

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

บัวบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban

ชื่อ สามัญ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal

วงศ์ : Umbelliferae

ชื่อ อื่น : ผักแว่น ผักหนอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ : ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

สรรพคุณ :

  • ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
  • ทั้งต้นสด
    - เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
    - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
    - ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ขับปัสสาวะ
    - แก้เจ็บคอ
    - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
    - ลดความดัน แก้ช้ำใน
  • เมล็ด
    - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  1. ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
  2. ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
    ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
  3. เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
    ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน
  4. ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
  5. เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
    ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
  6. เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
    ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

สารเคมี : สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

บัวหลวง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.

ชื่อ สามัญ : Lotus

วงศ์ : Nelumbonaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก

สรรพคุณ :

  • ดีบัว - มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
  • ดอก, เกษรตัวผู้ - ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
  • เหง้าและเมล็ด - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
  • เมล็ดอ่อนและแก่ - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
  • เหง้าบัวหลวง - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
  • ไส้ของของเมล็ด - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
  • ยางจากก้านใบและก้านดอก - แก้ท้องเดิน
  • ราก - แก้เสมหะ

สารเคมี :

  • ดอก มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine
  • embryo มี lotusine
  • เมล็ด มี alkaloids และ beta-sitosterol

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น