วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปรุงยาให้มี สรรพคุณดี

การปรุงยาให้มี สรรพคุณดี


ในการปรุงยานั้น เภสัชกรสามารถปรุงยาได้ตามใบสั่งแพทย์ หรือตามตำรับ ที่กำหนดตามกฎกระทรวงฯเท่านั้น และควรพิจารณาถึงตัวยา ส่วน และฤทธิ์ของยาที่แจ้งไว้ในตำรับนั้น ๆ ด้วย ว่ามีความเหมาะสมหรืออาจเกิดโทษได้หรือไม่ หากสงสัยต้องสอบถามผู้ออกใบสั่งยา หรือตรวจสอบต้นตำรับยานั้นให้แน่นอนเสียก่อน มีหลักในการพิจารณา ดังนี้

1. พิจารณาตัวยา พิจารณาตามหลักของเภสัชวัตถุ ว่า ตำรับยากำหนดให้ใช้ตัวยา มีรูปลักษณะ สี กลิ่น รส ชื่อ อย่างไร ใช้ส่วนใด ของ พืช สัตว์ ธาตุใด มาปรุงเป็นยา ตัวยาที่จะใช้ควรเป็นตัวยาที่ใหม่ ไม่เสื่อมคุณภาพหรือสกปรก ก่อนใช้จะต้องสะตุประสะ หรือฆ่าฤทธิ์ก่อนหรือไม่ เป็นต้น

2. พิจารณาสรรพคุณยา ว่าตัวยานั้น ๆ มีสรรพคุณดี ตรงตามตำรับ และโรคที่จะใช้รักษาหรือไม่
มีฤทธิ์ขัดกันหรือไม่ หรือเป็นตัวยาที่มีพิษ หรือมีฤทธิ์แรงหรือไม่

3. พิจารณาขนาดและปริมาณ ว่าตัวยาใดควรใช้ขนาดเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับโรค หรือถูกต้องตามตำรับหรือใบสั่งแพทย์

4. พิจารณาความสะอาดความละเอียดรอบคอบ จะต้องคัดเลือกตัวยาที่สะอาด ตัวยาใดควรล้าง
หรือทำความสะอาดก็ต้องทำให้เรียบร้อย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่ จะต้องสะอาดและเหมาะสม ต้องมีความละเอียดรอบคอบ การคัดเลือกตัวยา การชั่ง ตวงยา การสะตุ ประสะ หรือฆ่าฤทธิ์ยา การบดหรือปรุงยา ระมัดระวังความสะอาด เชื้อโรค เชื้อรา ความชื้น การปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม ตรวจจำนวนและปริมาณยาให้ถูกต้อง

5. พิจารณาการปรุงยาให้ถูกวิธี ต้อง พิจารณาว่า ตามตำรับ และตามหลักการปรุงยาแผนโบราณที่ใช้สืบกันมานั้น ทำอย่างไร ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเภสัชกรรม และตามที่กำหนดมาในตำรับยานั้น ๆ ต้องค้นคว้าศึกษาถึงการปรุงยาให้มีคุณภาพดี การรักษาคุณภาพของยาที่ปรุงเสร็จแล้ว ควรต้องบรรจุภาชนะอย่างไร เมื่อปรุงเสร็จแล้ว ต้องเขียนชื่อยา บอกขนาด วิธีใช้ สรรพคุณ และวันที่ปรุงให้ครบถ้วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น