วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการแพทย์แผนไทย

การศึกษา การแพทย์สมัยก่อน เป็นการเรียนรู้ และการถ่ายทอด ภายในตระกูล โดยการถ่ายทอดขึ้นอยู่กับลักษณะ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ถ่ายทอด กับผู้ที่ได้รับ เช่น ป้า น้า อา หรือ ผู้ใกล้ชิดที่สุด ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น จะพบว่า การถ่ายทอด วิชาในลักษณะดังกล่าว ชัดเจนมาก เป็นการ สืบทอดวิชา กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นแพทย์หลวง และทรงกำกับ กรมหมอ ผู้สืบทอด กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ต่อมาได้รับตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการ กรมหมอ และเป็นแพทย์ ประจำพระองค์ ของรัชกาลที่ 5 ด้วย ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดโดยการบอกเล่า ถึง สรรพคุณ และตำนาน ของพืช สมุนไพร บางชนิด ในเวลาต่อมา คือ ท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนทวงศ์ ผู้เป็นหลานตา นอกจากนี้ กรมขุนวรจักร ธรานุภาพ เป็นพระราชโอรส ในรัชกาลที่ 2 ทรงเป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก และทรง เป็นต้นตระกูลปราโมช ผู้ที่ได้รับการสืบทอดวิชาแพทย์แผนไทยต่อมา คือ หม่อมเจ้ากำมสิทธิ์ แต่หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ไม่ได้รับราชการเป็นหมอหลวง จึงทรงเป็นแพทย์เชลยศักดิ์เท่านั้น ส่วนพระยา อมรศาสตร์ประสิทธิ์ แพทย์หลวงใน สมัย รัชกาลที่ 5 ได้สืบทอดวิชา ให้แก่ หลวง กุมารประเสริฐ ต่อมาได้เป็นแพทย์หลวง ในสมัยรัชกาล ที่ 6

การถ่ายทอดวิชาความรู้ ระหว่างครูกับลูกศิษย์ โดยครูจะช่วยแนะนำสั่งสอน และฝึกฝน จนชำนาญ ซึ่งศิษย์ จะต้อง หมั่นสังเกต และจดจำ ตัวยา วิธีการรักษาไว้ ให้แม่นยำ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ทรงศึกษา แพทย์แผนไทย กับพระยา พิศนุประสาทเวช ต่อมาเป็นหัวหน้าหมอหลวง รัชกาลที่ 6 พระองค์ และยังได้ศึกษาแพทย์แผนไทย กับพระสงฆ์ ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น นั่นคือ หลวงปู่ศุข วัดมะขาม และ พระสงฆ์ อื่นๆอีกมากมาย เป็นหมอที่ มีความ เชี่ยวชาญมาก ชาวบ้านรู้จักในนามของ หมอพร พระองค์มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักดี ในวงการแพทย์แผนไทย เพราะไม่เพียง แต่ พระองค์ จะ รักษาโรคให้หายได้อย่างชะงัดแล้ว พระองค์ ยังเป็นแพทย์แผนไทย ที่มีความคิริเริ่ม และทันสมัย เช่น รู้จัก วิเคราะห์ ตัวยา ที่ปรากฏในตำรา จนมีความเชี่ยวชาญ และสามารถ ใช้รักษาผู้ป่วย ได้ผล เป็นที่น่าพอใจ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ ยังมีความ ชำนาญ มาก จน ทรงชำระคัมภีร์อติสาระวรรค ( ว่าด้วยโรคลำไส้) ได้

การศึกษาวิชาแพทย์ จะถ่ายทอดภายในตระกูล จะสอนแต่เฉพาะ ลูกหลาน เป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยที่เป็นคนอื่น เนื่องจาก การรับใคร เป็นศิษย์ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะครูต้องใช้ความสังเกตุพิจารณา ในเรื่องของนิสัยใจคอ และ ความ อดทน หากพบว่า ลูกหลาน หรือศิษย์คนใด สมควรจะรับ สืบทอดวิชาความรู้ ได้มากน้อย แต่ไหน จึงเป็นที่รู้กันว่า ในสมัยก่อนศิษย์ จะมี ความปรีชาสามารถ สืบเนื่องมาจากครู

วิธีการถ่ายทอด ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย

วิธีการถ่ายทอด ความรู้ ทางการแพทย์แผนไทย เป็นลักษณะ ปากต่อปาก แล้วท่องจำ และ ต้องอาศัย ประสบการณ์ ที่ใช้ การสังเกต จดจำให้ขึ้นใจ การศึกษา วิชาแพทย์จึงไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยความมะนะ บากบั่น พากเพียร และอดทน เป็น เวลาแรมปี เพื่อจะได้ จดจำ คำสั่งสอน ได้แม่นยำ โดยครูจะสอนวิธีการตรวจรักษาคนไข้ สอนวิธีปรุงยา โดยเริ่มจาก สอน ให้รู้จักสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของยา ทั้งที่เป็นพืชวัตถุ และธาตุวัตถุ ศิษย์จะต้องทำตัว ใกล้ชิด คอยสนใจ ปรนนิบัติ และ ติดตาม ถามไถ่ เวลาที่ครู ออกไปรักษาคนไข้ นอกสถานที่ ต้องคอยติดตาม เพื่อจะได้เรียนรู้ และหาความชำนาญ จากการ สังเกต อาการของคนไข้ โดยครูจะอธิบาย ให้รู้ถึง ที่ตั้งแรกเกิดของโรค ชื่อของโรค และยาสำหรับ บำบัดโรค ต้องให้ แม่นยำ

จวบจนสมัยที่มีตัวอักษรใช้ จึงมีการจดจารึก ความรู้ไว้ในที่ต่างๆ เช่น แกะไว้ในแผ่นหิน ไม้ หรือโลหะ โดยหวัง ให้วิชาแพทย์ คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ สืบทอดมาจนมีการจารึก หรือเขียน ลงในใบลาน และสมุดข่อย เรียกว่า " พระคัมภีร์ หรือพระ ตำรา " ซึ่งมีการคัดลอกต่อๆ กันมา ข้อความในพระคัมภีร์ หรือ ตำราแพทย์ นั้น จะกล่าว และจำแนก ไว้ตามความรู้ ความเชียว ชาญ ของครู ได้แก่ อาการของโรค วิธีรักษา อีกทั้งสรรพคุณยา สมุนไพร ไว้อย่างพร้อมมูล

การแพทย์แผนไทย ผู้เป็นแพทย์สมัยก่อน จะต้อง มีความรู้ ความสามารถ ในการปรุง ยาเอง เพราะฉะนั้น จึง ต้อง เรียนรู้ เกี่ยวกับ พันธุ์ สมุนไพร ตามแต่ครู จะเห็นสมควร โดยในชั้นแรก จะต้อง เรียนรู้ ชนิดของสมุนไพร และคุณสมบัติ ตลอด จนถึงการเก็บรักษา ส่วนพิกัดยา แต่ละชนิด นั้นศิษย์ จะต้องอาศัยการสังเกตุ และจดจำเอาเอง ชั้นที่สอง คือ การศึกษา จากตำรา แพทย์ จะต้องศึกษา จากคัมภีร์ ที่ บอก ลักษณะ อาการของโรค และตำรา คัมภีร์สรรพคุณ ที่ บอกรสยาทั้งปวง คัมภีร์ ที่ต้อง ศึกษา ในเบื้องต้น คือ สมุฎฐานวินิจฉัย ธาตุวินิจฉัย โรคนิทาน ปฐมจินดา มหาโชตรัต ตักกศิลา สาโรช รัตนมาลา ชวตาร ติจรณสังคหะ มุจฉาปักขันธิกา เป็นลำดับ ขั้นสุดท้าย คือ การทำนายโรค ศึกษา โดยตามครู ไปเยี่ยมผู้ป่วย เรียกว่า ถือล่วมยา ต่อมาจะมีความชำนาญ ขึ้นเป็นลำดับ จนรักษาเองได้ จึงถือว่า เรียนจบหลักสูตร และเป็นหมอที่มีครูแล้ว

หลักสูตร ของครูบางคน จะสอนวิชาไสยศาสตร์ ให้ด้วย เรียกว่า ไสยรักษ์ คือการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยคาถา อาคม และนับว่า เป็นวิชาแพทย์แผนไทยแขนงหนึ่ง ดังความตอนหนึ่งใน คัมภีร์ ฉันทศาสตร์ ว่า

ผู้ ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งคุณไสยจึงควรเรียน
สักแต่เป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร
ครูนั้นไม่ควรเรียน จำนำตนให้หลงทาง

ยุคก่อนกรุง สุโขทัย

สมัยเชียงแสนตอนต้น หรือสมัยโยนกนาคพันธ์ ประมาณ พ.ศ. 1300 ในรัชสมัย พระเจ้าสิงหนวัติ ซึ่งเป็น พระราช บุตรของพระเจ้ากลาหงส์ แห่งอาณาจักรน่านเจ้า ( มณฑลยูนานประเทศจีน) การแพทย์ของไทย นอกจากจะมีตำรา เดิมแบบ ไทย แท้ ซึ่งประกอบด้วยความเชื่อถือ ดั้งเดิม ของชนท้องถิ่น รวมทั้งสมุนไพร และไสยศาสตร์ แล้ว ยังได้ ความรู้ ผสมผสาน มา จากการแพทย์ อายุรเวท ของอินเดีย ซึ่งขยาย เข้ามา สมัยอาณาจักรลาว ประมาณ พ.ศ.600 โดยเข้ามาพร้อม กับ พระพุทธศาสนา หลักฐานที่ทำให้ เชื่อว่า การแพทย์แผนไทย มีรากฐานมาจาก การแพทย์ของอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์แพทย์ ของไทย มักจะมีคำกล่าว สรรเสริญ ท่าน ชีวกโกมารภัจจ์ ในฐานะ ครูแพทย์ และในตำราแพทย์ ส่วนใหญ่ จะอ้างชื่อ ท่าน ชีวกโมารภัจจ์ เป็นผู้เรียบเรียง นอกจากนี้ คำศัพท์ ในคัมภีร์แพทย์ ยังปรากฏภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาหลักใน พระไตรปิฎก และมี บทสวด ทางศาสนา เป็นจำนวนมากด้วย และยังได้รับอิทธิพลทางการแพทย์จากจีนด้วย เช่นตำรับยา บำรุงหัวใจ และยา อายุวัฒนะ ที่แพทย์ไทย นำมาผสม ด้วยโกฐต่างๆ ได้แก่ กฤษณา กะลำพัก อบเชย ชะเอมเทศ เกสรทั้งเจ็ด อำพันทอง เหล่า นี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้แร่ธาตุรักษาโรค เช่น ปรอท สารหนู และเหล็ก ส่วนที่ได้มาจากสัตว์วัตถุ เช่นเขากวาง เลือดแรด กระดูก ถุงน้ำดี พร้อมทั้งพฤกษชาติ ที่มีคุณค่าทางยา การแพทย์แผนไทยได้รับ การผสมผสาน กับแพทย์แผนจีน น้อยมาก โดยพิจารณา จากวิธีการ วินิจฉัยโรคที่แตกต่างกัน คือ ในการตรวจคนไข้แพทย์ จีน สมัยก่อน ให้ความสำคัญ กับ การ จับ ชีพจร ในขณะที่ไทยให้ความสำคัญกับอาการป่วยที่ปรากฏมากที่สุด การเต้นของชีพจร เป็นเพียงส่วนประกอบ ที่จะนำมา วินิจฉัยเท่านั้น การตรวจโรคของแพทย์แผนไทย ยังมีการซักประวัติโรคที่เคยเป็นมาก่อน อายุของคนไข้ เวลาที่เริ่มป่วย ตรวจ ความร้อน โดยแตะตัวคนไข้ หรืออังวัดความร้อน ที่หน้า ผาก ตรวจลิ้น ตรวจเปลือกตา ด้านใน และดูผิวพรรณ แล้ว จึงทำนายโรค

สมัยพระนางจามเทวี ( พ.ศ.1204 - 1211 ) จากตำนานพระธาตุลำปางหลวง กล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพ กับสุกกทันฤาษี ได้ สร้าง นครหริภุญชัยขึ้น แล้ว เห็นพร้องต้องกันว่า ผู้ชาย จะครองนคร หริภุญชัยได้ไม่นาน ควรให้ผู้หญิงมาครอง จึงได้พร้อม ใจกันอาญเชิญ พระนางจามเทวี ( พระธิดาของเจ้าผู้ครองนคร ละโว้ปุระ หรือเมืองลพบุรี ในปัจจุบัน) จากเมือง ละโว้ ให้มา ครองนครหริภุญชัย ในราว พ.ศ. 1204 พระนางจามเทวี ได้ขอพระราชทาน สิ่งที่ เป็นมงคล จากพระราชบิดาไปด้วย เพื่อ นำ ไป ประกอบ กิจให้เป็นประโยชน์ ทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

1. พระมหาเถร ที่ทรงปิฎก ประมาณ 500 องค์
2. หมู่ปะขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล 500 คน
3. บัณฑิต 500 คน
4. หมู่ช่างสลัก 500 คน
5. ช่างแก้วแหวน 500 คน
6 พ่อเลียง 500 คน
7. แม่เลี้ยง 500 คน
8. หมู่หมอโหรา 500 คน
9. หมอยา 500 คน
10. ช่างเงิน 500 คน
11. ช่างทอง 500 คน
12. ช่างเหล็ก 500 คน
13. ช่างเขียน 500 คน
14. หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆ 500 คน
15. หมู่พ่อเวียงทั้งหลาย 500 คน ( คนงานฝ่ายก่อสร้าง)

แสดงว่า หมอยา เป็นกลุ่ม บุคคล ที่มีความสำคัญ มากกลุ่มหนึ่ง ในสังคม

สมัยพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 ( พ.ศ. 1724-1762) เป็นกษัตริย์ของขอม ที่ได้ปราบดาภิเศก เป็น พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 1724 ภายหลังจากปราบขบถ ใน นครธม และกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ พระองค์ ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ในการปฎิสังขรณ์ ซ่อม แซมบ้านเมือง และสร้างถาวรวัตถุ ขึ้นใหม่ ตามจารึก หลักพระขรรค์ไชยศรี บทที่ 123 ระบุไว้ว่า ได้โปรดให้สร้างถนน 17 สาย บ้านซึ่งมีไฟ ( ซึ่งน่าจะหมายถึงที่พักสำหรับคนเดินทาง ) จำนวน 121 แห่ง และโรงพยาบาล หรือที่ปรากฏในจารรึก ว่า อโรคยศาล จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ ทั่วราชอาณาจัร ในราว พุทธศตวรรษ ที่ 18 หรือประมาณ 800 กว่าปี มาแล้ว อโรคยาศาลนี้ สันนิษฐานว่า สร้างด้วยไม้ ส่วนใหญ่ จึงหักพังสูญหายไป คงเหลือแต่วิหาร หรือ ศาสนสถาน ของโรงพยาบาล และศิลาจารึก ที่สร้างด้วยอิฐหิน หรือศิลาแลง ไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ศิลาจารึก ที่พบบริเวณโรงพยาบาล เรียกว่า ศิลาจารึก โรงพยาบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย มีทั้งหมด 5 แห่งคือ

1. จารึกจากประสาทตาเมียนโตจ
2. จารึกปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
3. จารึกจากด่านประคำ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
4. จารึกพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
5. จารึกวัดกู่ บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
6. จารึกจากกู่แก้ว อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นจารึก เกี่ยวกับพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7
พบล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2529

ศิลาจารึกดังกล่าวมีข้อความเหมือนกันเกือบทั้งหมด คือ กล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้า กษัตริย์ และการจัดระเบียบ แบบ แผน ของสถานพยาบาล นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการเบิก จ่ายอาหาร และยา จากท้องพระคลังหลวง รวมทั้งได้ระบุชื่อยา ชื่อ สมุนไพร ตลอดจนจำนวน ของแต่ละสิ่ง ไว้ในจารึก ซึ่งอาจสรุป สาระสำคัญ ของข้อมูลเกี่ยวกับ คติความเชื่อและ การจัด แบบ แผนของอโรคยศาล ได้ 4 ประการคือ

1. การบูชาพระโพธิสัตว์ ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน รวมทั้ง พระไภษัยชยคุรุไวฑูรย ประภา
2. ความสนพระทัย ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในความทุกข์ อันเกิดจาก โรคภัยของ ประชาชน จึงทรงให้สร้าง
อโรคย ศาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาพยาบาลตามท้องถิ่น
3. จำนวนเจ้าหน้าที่ และวัสดุ สิ่งของที่ต้องใช้ในแต่ละวัน ในอโรคยศาล
4. กำหนดให้ อโรคยศาล เป็นที่ประกอบกิจ พิธีทางศาสนา

จากแนวความคิดและการศึกษาของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส ทำให้ทราบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาตัว ที่อโรคยาศาล จะเข้าพักในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นอาคาร ที่สร้างด้วย ไม้ แต่ปัจจุบัน ได้ผุพังไปหมดแล้ว ผู้ป่วยจะไม่พักอาศัยอยู่ในอาคาร ที่สร้าง ด้วยหิน หรือศิลาแลง เนื่องจากอาคารที่สร้างด้วยหิน หรือศิลาแลงนั้น จะสงวนไว้สำหรับพระผู้เป็นเจ้า ( เป็นที่ประดิษฐาน รูปเคารพ ) เท่านั้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญสูงสุด ก็ยังทรงประทับอยู่ในพระราชมณเฑียร ที่ทำด้วยไม้ หลักศิ ลาจารึก สร้างโรงพยาบาล ที่พบ ณ ประสาทตาเมียนโตจ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพบที่เมืองชัยภูมิ ที่เมืองคนบุรี นมหวาน และที่ ด่านประคำ จังหวัดนครราชสีมา ( ดังปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ) ข้อความในจารึก ได้กล่าวสรรเสริญ พระ เกียรติยศ ของพระบาท ชัยวรมัน ที่ได้ จัดสร้าง โรงพยาลาลรักษาคนไข้ รวมถึงสมุนไพร ที่ใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการบริหารงาน ในโรงพยาบาล จำนวน 102 โรง และในพระแท่นของโรงพยาบาลต่างๆ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 798 องค์ จำนวนข้าวสาร ที่เอามาเลี้ยงคนไข้ ในโรงพยาบาล มีจำนวน ปีละ 117,200 ชาริกา ( ชาริกา เป็นมาตรา ส่วนที่ใช้กันในพุทธศักราช 1724 ณ บริเวณแหลมทอง ซึ่งมีอัตราดังนี้

2 ปะณะ เป็น มาษ
4 ปะณะ เป็น กุฑุวะ
4 กุฑุวะ เป็น ปรสถะ
16 ปรสถะ เป็น โทรณะ
4 โทรณะ เป็น ชาริกา
11 ปะสะ เป็น ตุลา ( คือตุลกัฎฎี เห็นจะเป็นชั่ง )

จำนวนชาวนาที่ทำนา เพื่อส่งข้าวให้โรงพยาบาล ทั้งหญิงและชาย มีอยู่ 81,640 คน และจำนวน หมู่บ้านของชาวนา 838 หมู่บ้าน

การบริหารงานในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ฝ่ายต่างๆ ดังนี้

ผู้ดูแล 4 คน ( เป็นแพทย์ 2 คน โดยมีบุรุษ 1 คน และสตรี 1 คน เป็นผู้ให้สถิติ )
ผู้ดูแลทรัพย์ จ่ายยา รับข้าวเปลือก และฟืน ใช้บุรุษ 2 คน
ผู้หุงต้ม ทำความสะอาด จ่ายน้ำ หาดอกไม้ และหญ้า บูชายัญ ใช้บุรุษ 2 คน
ผู้จัดพลีทาน ทำบัตร จ่ายบัตร สลาก และ หาฟืน เพื่อต้มยา ใช้บุรุษ 2 คน
ผู้ดูแลโรงพยาบาล และส่งยา ให้แก่บุรุษแพทย์ เป็นบุรุษ 14 คน
ผู้โม่ หรือ บดยาที่สันดาบ ด้วยน้ำ เป็นสตรี 6 คน
ผู้ทำหน้าที่ตำข้าวเปลือก 2 คน
ผู้ปฎิบัติงานในโรงพยาบาล ในจารึกสุรินทร์ 2 ระบุ จำนวนรวม 98 คน

ส่วนการจัดระบบด้านการรักษา พยาบาล ในโรงพยาบาล และการจัดหายา มาบริการยังไม่เพียงพอ อำนาจเหนือธรรม ชาติ เวทมนตร์ และความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา จึงเข้ามา มีบทบาทสำคัญ ในการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งจะเห็นได้จาก การสร้าง พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ( พระโพธิสัตว์ ไภษัชคุรุไวฑูรยประภา) ซึ่งแปลว่า เป็นครูแห่งโอสถทั้งหลาย มีรัศมี ประดุจดังไพฑูรย์ เป็นที่เคารพแห่งมนุษย์ ทั้งหลายในสมัยนั้น มีอานุภาพ ในการรักษาโรคภัย ไข้เจ็บ มักทำเป็นรูปพระพุทธ รูป ทรงเครื่องปางนาคปรก แม้ว่าบางรูปจะไม่ปรากฏพังพานนาค แต่ยังคงมีขนดหางนาค แตกต่างจากพระพุทธรูปทรงเครื่อง นาคปรก ก็คือ ภายในพระหัตถ์ ที่ประสานกันเหนือเพลา มีวัตถุ รูปกรวย อยู่ภายใน วัตถุนี้ สันนิษฐาน ไว้ต่างๆ กันเช่น

* อาจเป็นยา หรือดอกไม้ หรือวัชระ
* น่าจะเป็นผลไม้ประเภทสมุนไพร เช่นผลสมอ
* น่าจะเป็นผลสมอ ซึ่งเป็นสมุนไพร ที่ใช้ทำยารักษาโรคภัยต่างๆ และหากคิดว่า เป็นหม้อน้ำมนตร์ ก็น่าจะหมายถึง ภาชนะ หรือ ผอบใส่โอสถ ไว้สำหรับ รักษาผู้เจ็บป่วยนั่นเอง เชื่อกันว่า การสร้าง พระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา ไว้ประจำโรงพยา บาล ก็เพื่อให้ บารมีของพระองค์ แผ่เมตตา ต่อคนไข้ ในอโรคยศาล จนไม่อาจ กล่าวได้ว่า ระหว่างการรักษา พยาบาล และ ศรัทธา นั้น ส่วนใหน จะสำคัญ มากกว่ากัน แต่สิ่ง ที่น่าสนใจ คือ ครูผู้รักษา จะต้องมีคุณธรรม ซึ่ง ในปัจจุบัน แนวความคิด นี้ยังคงมีอยู่ อาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบในการรักษา จะประกอบด้วยยา หรือสมุนไพร ด้วยศรัทธา และความเคารพ นับถือใน คุณธรรมของ ครู และด้วย บารมี ของพระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา

อย่างไรก็ตามในศิลาจารึก ไม่ได้กล่าวว่า ในโรงพยาบาล 102 โรงนั้น ได้รับยา รักษา โรคและสิ่งของต่างๆ มาจากไหน กล่าวแต่เพียง บัญชีเครื่องยา และสิ่งของในปีหนึ่งๆ เท่านั้น แต่เข้าใจว่า ได้มาจากการชำระภาษีของประชาชน ส่วนสิ่งของที่หา ยากไม่มีในท้องที่ จะจัดส่ง มาจากท้องพระคลังในเมืองหลวง โดยตรง ดังจารึกของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 หลายแห่ง ได้ กล่าว ถึงการแต่งตั้ง ผู้ปกครองและการจัดเก็บภาษีในแต่ละท้องที โดยภาษีที่ต้องลำระในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ จะชำระ เป็นสิ่งของ ประ เภท ทรัพยากรตามธรรมชาติ และผลิตผลตามธรรมชาติ ที่ได้จากป่า อโรคยศาล ในแต่ละวัน เฉพาะ ที่ได้รับจาก ท้องพระคลัง ของพระ มหากษัตริย์ โดย จะส่งมาปีละ 3 ครั้ง คือ วันเพ็ญเดือน 5 วันสารท และวันที่พระอาทิตย์เบนไปทางทิศใต้ มี หลายชนิด เช่น สมอ 50 ผล ขมิ้น 2 หัว น้ำผึ้ง 3 กุฑูวะ น้ำอ้อยเหลว 3 กุฑุวะ น้ำส้ม พุทรา 1 ปรสถะ รกฟ้าขาว 1 ปะละ 1/4 กันทง หัวหลาย ชันสยง เปลือกเทพธาโร ของ ทั้งสีสิ่งๆละ 1 ปะละครึ่ง เป็นต้น นอกจากนั้นจารึกในโรงพยาบาลได้กล่าวถึงชื่อพืช และ ผลิตผลของพืชหลายชนิด ซึ่งอาจใช้ในการรักษา ได้แก่ ผลตำลึง กฤษณา ข้าวบาร์เลย์ ดีปลี บุนนาค ผลจันทน์เทศ ผลกระวานเล็ก ขิงแห้ง พริกไทย ผักทอดยอด อบเชย หญ้ากระด้าง กระเทียม พริกขี้หนู พุทรา ข้าวสาร ถั่ว การบูร เมล็ด ธานี ถั่วฝักยาว ยางสน มิตรเทวะ ทารวเฉท ดอกไม้ เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้ นำมาเพื่อบูชายัญ และส่วนที่เหลือจะ บริจาคให้ คนไข้ ชื่อสมุนไพรที่ปรากฏในจารึก คงไม่ใช่สมุนไพรทั้งหมดที่ใช้ใน อโรคยศาล ส่วนหนึ่ง ของสมุนไพร คงได้จากการเก็บหา ดังปรากฏในจารึกที่ว่า .. " ผู้มอบ .... บุรุษคนหนึ่ง เป็น ผู้ดูแลทรัพย์ ... เป็นผู้หาข้าวเปลือกยาและฟืน .. " แสดงให้เห็นว่า นอก จากเบิกจากท้องพระคลัง แล้วยา ส่วนหนึ่ง ยังต้องเก็บหามาใช้ จึงไม่สามารถ บอกได้ว่า อโรคยศาล ในอดีต ใช้สมุนไพรใด รักษาโรคให้คนไข้ เนื่องจากข้อมูลที่กล่าวไว้ในจารรึก จะเป็นเครื่องบูชา และเรื่องของกษัตริย์ เป็นส่วนใหญ่ รายชื่อสมุนไพร ที่ปรากฏอยู่ เป็นสมุนไพร เฉพาะที่กษัตริย์ พระราชทาน ให้ ประชาชน

สืบเนื่องมาจากการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียโบราณ ภายใต้อิทธิพล ศาสนา พราหมณ์ ก็ได้นำเอาความรู้วิชาแพทย์ แบบอายุรเวท มาด้วย เป็นการแพทย์ แบบทฤษฎีธาตุ เป็นส่วนหนึ่ง ในอาถรรพเวท ของคัมภีร์พระเวท การแพทย์ แบบอายุรเวท จึงได้รับการอุปถัมภ์ จากราชสำนัก มาโดยตลอด แม้ว่า พระเจ้า ชัยวรมัน ที่ 7 ซึ่งทรงสร้าง อโรคยศาล จะนับถือ พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน แต่ระบบการแพทย์ ที่สืบทอดกันมายังคงเป็นแบบเดิม คือ ยึดถือ ทฤษฎี ธาตุ ซึ่งอธิบา ภาวะ การเจ็บป่วยของมนุษย์ว่า เกิดจาก ความไม่สมดุลของธาตุในร่างกาย ได้แก่ ธาติดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมุนไพรที ่ ปรากฏอยู่ในจารรึก ส่วนใหญ่ จึงเป็นสมุนไพร ที่ใช้ปรับ ธาตุ เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ดังปรากฏในจารึก ปราสาทที่ กล่าวว่า เภษัย ที่ทำให้ร้อน ด้วยพริกผง และบุนนาค ก็เท่ากัน

สาเหตุที่กษัตริย์ พระราชทาน เฉพาะสมุนไพร ดังกล่าวไว้ในจารึก อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะกษัตริย์ ต้องทรง อุปถัมภ์การแพทย์แบบอายุรเวท ดังนั้น สมุนไพรใดที่หายาก ต้องสั่งมาจากต่างประเทศ หรือเป็นสมุนไพร ที่มีเฉพาะฤดูกาล จึงต้องเก็บไว้ในท้องพระคลัง เมื่อจำเป็น ต้องใช้ สมุนไพร ที่ไม่อาจเก็บหาได้ง่าย จะเบิกจากท้องพระคลัง ซึ่งจะเห็นได้ว่า สมุนไพร ที่ปรากฏอยู่ในจารึกเป็นสมุนไพร ที่นิยม ใช้กันทั่วโลก ในสมัยนั้น และบางชนิด เป็นของต่างประเทศ เช่น จันทน์เทศ ( Nutmeg) ซึ่งเป็นพืชพื้นเมือง แถบเกาะโมลุคคะ ใช้เป็นยากระตุ้น หรือยาขับลม สมุนไพร บางชนิด เป็นเครื่องเทศ ที่ใช้ ประกอบ อาหาร หาได้ทั่วไปไม่ ต้องเก็บไว้ในท้องพระคลัง จึงไม่มีชื่อระบุ ไว้ในจารึก ทำให้ไม่สามารถ รู้ว่า สมุนไพรทุกชนิด ที่ใช้ใน อโรคยศาล มีอะไรบ้าง แต่จากศิลาจารึก ที่ปราสาทพระขรรค์ไชยศรี บทที่ 1 2 3 ทำให้ เข้าใจน่าจะมีการผสมผสาน ใน เรื่องการใช้สมุนไพร จากประสบการณ์ ของบรรพบุรุษ ในแต่ละท้องถิ่น และ ลักษณะ การแพทย์ แบบนี้ จะไม่ถ่ายทอดกันอย่าง เปิดเผย เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากตำรายา มักเป็นที่หวงแหน ไม่ถ่ายทอด ไม่ถ่ายทอด กันง่าย หากไม่ได้ ทำพิธี เรียนต่อครู ย่อมถือว่า ผิดครู

ถึงแม้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จะได้ทรงลงท้ายคำขวัญ ในการสร้างโรงพยาบาล เมื่อ พุทธศักราช 1729 มีว่า " โอ้ ท่านทั้ง หลายซึ่งจะเป็นตัวแทนข้าพเจ้า ในวันหน้า ขอให้จารึกไว้ ในใจว่า การทำบุญกุศลทั้งสิ้น ซึ่งข้าพเจ้า ได้อุตสาห์ ทำมาจนบัดนี้ ขอท่านอย่าได้ละทิ้ง เฉยเสียเป็นอันขาด จงตั้งใจอุตสาห์ ดูแลปกปักรักษา ไว้ให้ดี ด้วยว่าการกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็จะได้แก่ตัว ท่านเหมือนกั ดังมีท่านนักปราชญ์ ที่ได้กล่าวไว้ว่า ผุ้ใดก็ดี ที่อุตสาห์ ดูแล รักษาการบุญกุศลเหล่านี ก็จะได้รับกุศลส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่ง จากผู้ซึ่งได้ ทำไว้ แต่แรกมา " แต่เมื่อพระองค์ สิ้นพระชนม์แล้ว ( พ.ศ.1762 พระชนมายุได้ 94 พรรษา) อาณาจักร ขอมก็เริ่มเสื่อม ลงไป พร้อมกับที ไทย เรืองอำนาจขึ้น กษัตริย์ องค์ต่อมา นับถือศาสนาพราหมณ์ มีความ เห็นไม่ลงรอยกับ กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อโรคยศาล จึงขาดคน ทำนุบำรุง ค่อยๆ ทรุดโทรม ลง และ ล้มเลิกไป อาคาร ส่วนที่เป็นไม้ ก็พุพัง เหลือ เพียง ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ที่เป็นหิน หรือ ศิลาแลง ปรากฏ ให้เห็นอย่างเช่น ทุกวันนี้

การที่ อโรคยศาล หรือ โรงพยาลาล ที่พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ได้ทรงสร้างไว้ถึง 102 แห่ง ไม่ปรากฏหรือมี ผู้สืบสานต่อให้ เห็นหลงเหลือ เป็นโรงพยาบาล สันนิษฐานว่า เป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา เพราะในครั้งนั้นนอกเหนือจาก พระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ที่เสื่อมใส ในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน กษัตริย์พระองค์อื่น ที่ปกครองอาณาจักรขอมเท่าที่ปรากฏ ล้วนแต่ นับถือศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นอำนาจลง จึงมีผู้พยายามที่จะล้มล้าง ทำลาย หรือไม่สนับสนุน สิ่งที่ พระเจ้า ชัยวรมัน ที่ 7 ได้ทรงสร้างขึ้น เป็นเหตุ ให้ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต้องหลบหา สถานที่ ปฎิบัติกิจทางศาสนาใหม่ เช่นออกไป บำเพ็ญ เพียรตามป่าเขา เป็นฤาษีชีไพร หรือบวช เป็นพระธุดงค์ ไปยังที่ต่างๆ พร้อมกับนำความรู้ทาง การแพทย์ ติดตัวไปใช้ รักษา กันเอง ในรูปแบบ ที่ไม่เป็นทางการอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน อโรคยศาล เมื่อขาดคนทำนุบำรุง จึงต้อง ล้ม เลิกไปในที่สุด

สมัย กรุงสุโขทัย ( พ.ศ. 1763-1920)

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบการแพทย์ ในสมัยนี้เลย แต่เชื่อว่า ต้องมีระบบการแพทย์ ที่มีการใช้ยาจากสมุนไพร โดยนำมาต้ม หรือ พอก หรือบด ให้ ละเอียด รับประทาน เพราะมีการค้นพบ หินบดยา สมัยทาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย ดังนั้น ในสมัยสุโขทัย ก็คงมีการบดยา ใช้เช่นเดียวกัน และได้พบศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง ที่วัด ป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเขียนขึ้น ประมาณ พ.ศ. 1800 บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพร ขนาดใหญ่ ไว้บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยา ให้ราษฎร ได้เก็บสมุนไพร ไปใช้รักษาโรค ยามเจ็บป่วย รวมถึงรูปจารึก ที่เกี่ยวกับการนวด ซึ่งพบอยู่ในเขต อำเภอครีมาศ จังหวัดสุโขทัย

ในสมัยนั้นมีความเชื่อกันว่า ความเจ็บป่วย เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ จึงมีพิธีแสดงความ นบนอบ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในหนังสือไตรภูมิพระร่วงว่า " ผิแลว่า ผู้ใดไปไหว้นบคำรพบูชาแก่กงจัรแก้ว นั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ แลกงจักรนัน เพียร ย่อมบำบัดเสีย ซึ่งความเจ็บไข้ " นอกจากนี้ ในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย และที่เตาเผา ชามพบตุ๊กตาเสียกบาล เป็นจำนวนมาก เป็นตุ๊กตาแบบแม่อุ้มลูก พ่ออุ้มลูก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัย คงจะมี ปัญหาเรื่องโรคเด็ก และการคลอดบุตร แล้วลูก ตายหรือ หรือตายทั้งแม่และลูก เพราะพิธีเสียกบาล เป็นพิธีที่ทำขึ้นเมื่อเด็กแรกเกิด ไม่สบาย โดยเชื่อว่า เป็นการกระทำของผี นอกจากการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร และไสยศาสตร์แล้ว ยังมีรูปจารึกเกี่ยวกับการนวด ซึ่งได้รับความนิยมมาก และมีความ สำคัญถึงขึ้น มีกรมหมอนวด และ เจ้ากรมหมอนวด ซ้าย - ขวา ดังบันทึกตอนหนึ่ง ของ ม.ร. ลาลูแบร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ กล่าวไว้ว่า " ในกรุงสยามนั้น ถ้าใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มให้ยืดเส้น ยืดสาย โดยให้ผู้มีความชำนาญ ในทางนี้ ขึ้นไปแล้วใช้เท้า เหยียบ " แสดงให้เห็นว่าการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะในส่วนของการใช้สมุนไพร และการนวด ไม่ได้มีใช้แต่ ราชสำนักเท่า นั้น ราษฎรโดยทั่วไป ต่างก็มีความรู้ ทางการแพทย์ ไว้ใช้รักษากันเอง ในระดับพื้นบ้าน ยามเจ็บป่วย ความรู้ทางการแพทย์ ของ ราษฎร ส่วนใหญ่เชื่อว่า เกิดจากการสังเกต และจากประสบการณ์ ในการทดลองใช้พืชต่างๆ เป็นยาอย่างลองผิดลองถูก หลายๆ ครั้ง ทั้งด้วยตนเอง คนรอบข้าง และสังเกตุจากสัตว์ต่างๆ ที่รักษา ตัวเอง ยามเมื่อเจ็บป่วย แล้วบอกเล่าถ่ายทอด สั่งสอน ความรู้ ทางการแพทย์นั้นๆ เช่น การใช้สมุนไพร ชื่อนั้น ชื่อนี้ ในการรักษา โรคหรือ อาการ นั้นๆ ต่อกันมา แก่บุตรหลาน หรือคนในครัว เรือน รวมไปถึงผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งผู้มีความรู้ ดังกล่าว ภายหลังเรียกอย่างเป็นทางการว่า หมอเชลยศักดิ์ ส่วนใน ราชสำนัก ความรู้ทางการแพทย์ นอจากจะสืบทอดเฉพาะ ภายในตระกูล แพทย์ แล้วยังได้รับ ความรู้จากตำรับต่างๆ ที่ทางพระ มหากษัตริย์ โปรดเกล้าๆ แต่งตั้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวม ตำรายาดีๆ ที่ได้รับการพิสูจน์ ผลการรักษา แล้วว่า หายจริง จากทั่วราชอาณาจักร มาตั้งเป็น ตำรับ เก็บไว้ใน โรงพระโอสถ ซึ่งเท่ากับจำกัด ใช้เฉพาะ ในตระกูลแพทย์ เท่านั้นไม่ได้ เผยแพร่ สู่สาธารณชน เรียกผู้มี ความรู้ประเภทนี้ ว่า " หมอหลวง "

สมัยกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ. 1893-2310 )

การแพทย์แผนไทย เท่าที่มีเอกสารพอจะค้นคว้าได้ ก็มีแต่เพียงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เท่านั้น ส่วนในสมัยกรุงสุโขทัย หรือก่อนหน้านั้น ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน มีแต่เพียงข้อ สันนิษฐานจากหลักฐาน แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึง หลักฐาน ที่เป็น บันทึก โดยชาวต่างประเทศ ที่เป็นเพียงมุมมอง ของการรักษา ความเจ็บป่วย ในสายตาของชาวต่างประเทศ เท่านั้น ซึ่ง แม้จะค่อนข้างเกินความจริงไปบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีคุณค่าไม่น้อยต่อวงการแพทย์แผนไทย ที่คนไทยเองไม่ได้บันทึก เรื่อง ราวในส่วนนี้ไว้ เพราะอย่างน้อย ก็ช่วยให้พอมองเห็นรูปแบบของการรักษา พยาบาลในสมัยนั้น การแพทย์แผนไทย ในสมัย กรุงศรีอยุธยา คาดว่า มี ลักษณะไม่แตกต่างจากสมัยสุโขทัยเท่าใดนัก เพราะมีประวัติบันทึกพอสรุปได้ว่า การแพทย์ในสมัย นี้ มีลักษณะ ผสมผสาน ปรับประยุกต์ มาจาก การแพทย์ของอินเดีย ที่เรียกว่า " อายุรเวท " และการแพทย์ของจีน รวมทั้งความเชื่อ ทางโหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ เช่นการผูกตะกรุด คาดผ้าประเจียด ลงเลยยันต์ คาถาอาคม วงด้ายสายสิญน์ เป็นต้น เพื่อ ให้สอดคล้องกับ สภาพของชุมชน แนวความคิดหลักการแพทย์ ไทยเป็นแบบอายุรเวท ซึ่งมีเป้าหมาย ที่สภาวะ สมดุล ของธาตุ ทั้ง 4 อันเป็นองค์ประกอบชีวิต ผู้ที่จะเป็นแพทย์ได้ ต้องมีวัตรปฎิบัติ ที่งดงามในทุกด้าน โดยเฉพาะ ด้านความกตัญญู รู้คุณ ต่อ ครูบาอาจารย์ นั้น ถือว่า ครู ดั้งเดิม คือ พระฤาษี ซึ่งมีหลาย องค์ ที่เป็นผู้ค้นพบ คุณค่า ทางยา ของสมุนไพร ต่างๆ และค้นพบ วิธีกายภาพบำบัด บริหาร ร่างกาย ตามตำรับฤาษีดัดตน ครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง คือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ ประจำราชสำนัก ของพระเจ้าพิมพิสาร และแพทย์ประจำพระองค์ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ ในเรื่องสมุนไพรต่างๆ สามารถนำมาปรุงยา รักษาโรค ได้แทบทุกชนิด และชำนาญในการผ่าตัดด้วย เกี่ยวกับเรื่องพระฤาษี กับสมุนไพร และท่าดัดตนนั้น สันนิษฐานว่า อาจสืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรขอม หลังสิ้นรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราษฎรผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งออกบวช หาสถานที่ วิเวก บำเพ็ญเพียร จนเรียกได้ว่า เป็นพระฤาษี เมื่อไปอยู่กลางป่า แต่เพียงลำพัง ต้องพึ่งตนเอง และ หาวิธีรักษาตน เองยามเจ็บป่วย ทำให้เกดการค้นพบ พืชสมุนไพร ที่สามารถใช้รักษาความเจ็บป่วย ขึ้น จึงจดจำไว้ ในเวลา เดียวกัน ขณะที่นั่งบำเพ็ญ เพียร อาจเกิด อาการเมื่อยขบ หรือค้นพบว่า เมื่อลองยกแขนยกขา หันหน้าหันหลัง แล้วอาการปวด เมื่อยข้อ ขัดยอก ที่เกิดหายไป ก็จำท่าต่างๆ ๆไว้ กลายเป็นวิธีบริหารร่างกาย ตำรับ ฤาษีดัดตน ในเวลาต่อมา ในสมัยกรุงศรี อยูธยา มีหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการแพทย์ แผนไทย ไว้ ไม่กี่รัชกาล ซึ่งจะได้กล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้

สมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2016 ฝรั่งชาติแรก คือ โปรตุเกส เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นปึกแผ่น ในกรุงศรีอยุธยา หลายร้อยคน เชื่อว่าคงจะมีแพทย์ มาด้วย กล่าวกันว่า ตำรับยา ของแพทย์โปรตุเกส ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน คือ ตำรับยาขี้ ผึ้งใส่บาดแผลบางชนิด

สมัยพระชัยราชาธิราช ทรงพระราชทาน ที่ดิน เป็นบำเหน็จ ความดีความชอบ แก่ชาวโปรตุเกส จำนวน120 คน
ที่ได้เข้าร่วมรบ ในสงครามเมืองเชียงกราน จนได้ชัยชนะ จึงให้ สร้างนิคมเฉพาะพร้อมโบสถ เชื่อว่า คงจะต้องมี แพทย์ หรือ หรือผู้มีความรู้ ทางแพทย์เข้ามาด้วย ดังนั้น น่าจะเป็นความจริงว่า ชาวโปรตุเกส เป็นพวกแรก ที่นำเอาการแพทย์ แบบตะวัน ตก เข้ามาในไทย ชาวโปรตุเกส ได้นำ ศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค เข้ามา เผยแพร่ แก่ชาวไทย และ เข้าใจว่า ได้รับ อนุญาต ให้ทำการเผยแพร่ ได้โดยสะดวก แต่เนื่องจากความเข้าใจในเรื่องภาษา ยังมีไม่พอ ทำให้การเผยแพร่ ไม่ค่อยได้ผล

สมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2199-2231 ) เมื่อพ.ศ. 2047 พ่อค้าชาวโปรตุเกส ได้นำการแพทย์ แบบตะวันตก เข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องง โดยใน พ.ศ. 2205 เริ่มมีการติดต่อ กับฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมองเชนเยอร์ ลังแบรต์ เดอ ลามอตต์ พร้อมด้วย มิชชั่นนารี ผู้ช่วยสองคน เข้ามาทางเมืองตะนาว ศรี ซึ่งสมัยนั้น เป็นเขต ขัณฑสีมาของไทย ปรากฏหลักฐานว่า ฝรั่งเศส ได้ตั้งโรงพยาบาล ขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ( ยังสืบไม่ได้ว่า ตั้งอยู่ ณ ที่ใด และไม่สามารถ สันนิษฐานได้ว่าเป็น โรงพยาบาลเดียวกับ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา) ตามที่ปรากฏในรายงาน ของ มิสซิย็อง ฟรังเซส พ.ศ. 2222 ว่า โรงพยาบาลอยุธยา มีคนไข้ประจำ 50-90 คน และคนไข้ไปมาวันละ 200-300 คน

โรงพยาบาลในขณะนั้น จึงได้อาศัยใช้เป็นที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ปวงชนชาวไทย ทั้งหลาย การนี้ อาจมีผลผลักดัน ให้เกิดความรุ้สึกว่า การแพทย์แผนไทยกำลังถูกท้าทาย บรรดา หมอหลวง จึงได้ร่วมกันรวบรวม ตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้ง แรกในประวัติการแพทย์ไทย เรียกว่า " ตำราโอสถพระนารายณ์ " แพทย์ฝรั่งเศส ซึ่ง่เข้ามารับใช้ในราชสำนัก และ เป็นที่ไว้ วางพระราชหฤทัย ได้ประกอบ พระโอสถถวาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้มี โอกาสบันทึกตำรับยา ที่นำมาจากยุโรป ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ นี้ด้วย ซึ่งตำราเหล่านี้ ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ นี้ ค้นพบในสมัย รัตนโกสินทร์ มีตำรา พระโอสถหลายขนาน ที่ปรากฏ ชื่อหมอหลวง และวันคืน ที่ตั้งพระโอสถ นั้นจดไว้ชัดเจนว่า อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2202-2204 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ได้รวบรวม เข้าคัมภีร์ เมื่อเวลา ล่วงไป แล้วถึงสมัย พระเพทราชา เนื้อความ ปรากฏในยาขนานหนึ่ง ว่า หมอ ฝรั่งได้ประกอบ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นิพพานท้ายสระ คือ สมเด็จพระเพทราชา ลักษณะ การแพทย์แผนไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือ การแพทย์ ที่คนไทย ได้ใช้มาในสมัยสุโขทัย แล้วนั้นเอง เพราะการแพทย์เป็นเรื่องของประเพณี วัฒณธรรม ซึ่งมีการถ่ายทอด ต่อเนื่องกันอยู่เสมอ ความรู้ในด้านการรักษา พยาบาล ได้ยึดถือตามตำรา ที่บรรพบุรุษ ได้สะสม และถ่าย ทอดมา และถือว่า คัมภีร์แพทย์ เป็นสิ่งศักสิทธิ์ จึงไม่คิดดัดแปลง แก้ไข้ ดังนั้น วิธีการป้องกัน และบำบัดโรค จึงคงเป็นไปในรูปเดิม ถึงแม้ว่า จะมีชาวต่างประเทศ นำวิชาการแพทย์ตะวันตก เข้ามาเผยแพร่ แต่ก็ไม่มีอิทธิพล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในวิธีการรักษา ของไทย แต่อย่างใด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ชาวต่าง ประเทศ เข้ามาติดต่อกับไทยไม่นานพอ ที่จะวางรากฐานการแพทย์แผนตะวันตก ในสมัยนั้นได้ และพระมหากษัตริย์ไม่สนับ สนุน เนื่อง จาก ขัดกับธรรมเนียมไทย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ได้พิมพ์ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยสมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชชินีนาถ ๆ ได้โปรดให้พิมพ์ ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระยาแพทยพงษา ( นาก โรจนแพทย์ )

มร.ลาลูแบร์ เอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้เขียนจดหมายเหตุ พระราชพงศาวดาร สยาม ครั้งกรุงศรีรอยุธยา แผ่นดินสมเด็ พระนารายณ์มหาราช ให้ภาพของโรคภัยไข้เจ็บ และวิธีการรักษา ในสมัยนั้นว่า เรื่อง โรคพาธของชาวสยาม ใน กรุงศรีอยุธยา มีตั้งแต่ โรคป่วง โรคบิด ไข้กำเดา ไข้หวัด ไข้จับสั่น โรคพิษบาดทะยัก โรคลมจับ โรคอัมพาต โรคคุดทะราด เข้าข้อ ฝีต่างๆ เป็น ปรวดพิษ แผลเปื่อยพัง โรคโลหิตไหลทางเหงือก ไม่ค่อยพบ โรคขี้เรื้อนกุด ถังยังไม่ค่อยเห็น แต่คนเสียจริตมีชุม การถูกกระทำยำยีเชิงกฤติคุณ ความประพฤติลามก พาให้เกิดกามโรค ในกรุงสยาม ก็ ตกไม่หยอก อนึ่งในกรุงสยามก็มีโรคติดต่อกัน แต่หาใช่ทำกาฬโรคอย่างทวีปยุโรปไม่ ตัวโรคห่าของกรุงสยาม ก็คือ ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค อีกตอนหนึ่งว่า ... หมอสยาม ไม่เข้าใจเครื่องในร่างกาย และไม่รู้จักผ่าตัด ...และ .. หมอสยามมียาแต่ตามตำรา .. หมอสยามไม่พึ่งพยายามทราบยาอย่างในบำบัดโรค อย่างไหนได้หลับตาถือ แต่ตำรับที่ได้เรียนมาจาก บิดา มารดา และครูบา อาจารย์ และในตำรานั้น หมอชั้นใหม่ ก็คงดื้อใช้ไม่แก้ไข อย่างใด หมอสยาม ไม่พยักพะวง ตรวจสมุห์ฐานโรค ว่า อะไรเป็น ตัวสำคัญ ที่ส่อให้เกิดโรค วางยาไปตามตำราตามบุญตามกรรม แม้กระนั้น ก็ยังไม่วาย ที่จะรักษา ให้หายได้มาก หมอสยาม ไม่เว้น ที่จะโทษว่า เป็นเพราะถูกคุณ กระทำ ยำเยีย หรือฤทธิผีสาง

หมอนวด ชอบขยำ บีบไปทั่วตัว เมื่อใครป่วยไข้ลงในกรุงสยาม บางทีดีขึ้น เดินเอาเท้าเหยียบบนกายคนไข้ แม้ใน สตรีมีครรภ์ ก็พอใจ ให้เด็กเหยียบ ที่หลัง เพื่อให้คลอดบุตรง่าย

อาหาร ของคนไข้ คนไข้สยามมักบำรุงตัว ชั่วข้าวต้มอย่างเดียวเท่านั้น เนื้อสัตว์ แม่แต่ซุป ถือเป็นของแสลง เมื่อ คนไข้ทุเลา พอจะกินอาหารแข็งๆ ได้บ้าง ก็ให้กินแต่ เนื้อหมู ถือว่าไม่สู้แสลง ดีกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่นหมด

ประเภทหมอสยาม เมื่อ มร. ลาลูแบร์ ป่วย สมเด็จพระมหากษัตริย์สยาม โปรดพระราชทาน ให้หมอหลวง ทั้งกรม ตรวจรักษา มีหมอสยาม หมอรามัญ และจีนแส ผลัดกันทยอย มาตรวจชีพจร อยู่ช้านาน แล้ลงเนื้อว่า เป็นไข้กำเดาเล็กน้อย และท้องเสีย ..

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายา ที่ชัดเจน สำหรับราษฎร โดยมีแหล่ง จำหน่าย และสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง ในส่วนราชการ และราชสำนัก มีโรงพระโอสถ อยู่ในพระราชวัง

แต่เมื่อสิ้นรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใน พ.ศ. 2231 เกิดการผันผวนทางการเมือง จากการกระทำของขุน หลวงสรศักดิ์ และสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งขึ้นครองราชสมบัติแทน ชาวฝรั่งเศส ถูกขับไล่ออกจากกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากไม่ วางใจ พวกฝรั่งเศส ทำให้การแพทย์แผนตะวันตกเสื่อมสูญไปด้วย

ใน ..คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม กล่าวไว้ว่า ปลายสมัยอยุธยา บนตัวเกาะกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายเครื่องสมุน ไพรให้แก่ชาวบ้านทั่วไป โดยระบุว่า ... ที่ถนนป่ายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทย ครบสรรพคุณยา ทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา 4 และยังได้กล่าวถึงโรงทำยาหลวง ซึ่งเรียกว่า " โรงพระโอสถ " ไม่น้อยกว่า 2 โรงว่า ... นอกประตูไพชยนต์นี้ มีโรงพระโอสถ 1 และมีโรงพระโอสถ ตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น ( สวนองุ่นตั้งอยู่ ท้ายสระใหญ่ อันเป็นที่ตั้ง ของพระที่นั่ง บรรยงค์รรัตนาศน์ ) โรงพระโอสถหลวงนี้ นอกจากปรุงยา ใช้ในพระราชวัง แล้วยัง เตรียมยา สำหรับ ใช้ในกองทัพ เมื่อออกไป ทำสงครามด้วย

จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น สามารถให้ภาพระบบการแพทย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นอย่างดีว่า ส่วนใหญ่คนไทย นิยมการรักษา แบบการแพทย์แผนไทย มีร้านขายเครื่องสมุนไพร ทั้งไทยและจีน ตั้งอยู่ภานในและภายนอกกำแพงพระนคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น