วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน9

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
ว่านมหากาฬ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : หัว ใบสด
สรรพคุณ :
• หัว
- รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
- แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม
• ใบสด
- ขับระดู
- ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว
กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
อัคคีทวาร


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum L. var. wallichii C.B.clarke
วงศ์ : VERBENACEAE
ชื่อ อื่น : ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ :
ทั้งต้น - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น